โลกหลังความตาย (ตอนจบ)

นอกจากนั้นก็มีเรื่องมากมายหลายรูปแบบ บางคนอาจจะไม่ถูกลงโทษเลย อัลลอฮฺ(ซบ) ทรงประวิงเวลา คือให้โอกาส 40 วัน ดูว่าในช่วง 40 วันนี้จะมีใครมาช่วยเขา ในความจริงแล้วนั้น ที่มาของการทำบุญ 40 วัน ท่านนบี(ซล) เป็นผู้สั่งให้ทำบุญ 40 วันเอง และตัวเลข 40

 

ทำบุญ 40  วัน เป็นบิดอะห์จริงหรือ?

 

นอกจากนั้นก็มีเรื่องมากมายหลายรูปแบบ บางคนอาจจะไม่ถูกลงโทษเลย อัลลอฮฺ(ซบ) ทรงประวิงเวลา คือให้โอกาส 40 วัน  ดูว่าในช่วง 40  วันนี้จะมีใครมาช่วยเขา  ในความจริงแล้วนั้น ที่มาของการทำบุญ 40 วัน  ท่านนบี(ซล) เป็นผู้สั่งให้ทำบุญ 40 วันเอง  และตัวเลข 40 นั้นเป็นตัวเลขที่สำคัญตัวเลขหนึ่งในอิสลาม สำคัญเป็นอย่างมาก มีฮะดิษต่างๆมากมากมายเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 เพราะบางคนยังมีโอกาสที่จะได้รับการอภัยโทษ  โดยดูไปที่ความดีของคนที่อยู่ในโลกนี้ที่จะส่งมาให้กับเขา

 

ความดีที่ลูกหลานทำให้ สมมุติคืออ่านอัลกุรอานทุกวันให้ครบ40วัน เพื่อให้อัลกุรอานนี้เป็นตัวช่วยในการปลดเปลื้องการลงโทษของผู้ที่ได้จากโลกนี้ไป สำหรับคนที่ว่าเป็นคนดีในมุมมองของเรานั้น ล้วนแล้วต้องการตัวช่วยทั้งนั้น ไม่มีมนุษย์คนหนึ่งคนใดในโลกนี้ที่จากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะได้เข้าสวรรค์แน่นอน  ซึ่งจะมีเพียงน้อยนิดเป็นอย่างมาก จะดีสักขนาดไหนก็ จะต้องมีตัวช่วยจากโลกนี้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าคนนี้เป็นคนดีแล้ว ตายไปแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก  คนดีที่ได้ตายไปหรือคนไม่ดีที่ได้ตายไปนั้น เราก็จะต้องช่วยกันทำบุญ ช่วยกันอุทิศส่วนกุศลให้กับพวกเขา เพราะสิ่งนี้เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งใน “บาบุร เราะมะฮ์” ประตูแห่งความเมตตาของอัลลอฮฺ(ซบ) คนจำนวนมากหลุดพ้นจากการลงโทษจากบุญเหล่านี้ และหลักฐานมันชัดแจ้ง แม้แต่พวกที่ต่อต้านสิ่งเหล่านี้ก็รายงาน เมื่อท่านซัยยิดินาฮัมซะฮฺ ซึ่งเป็นชะฮีดในสงครามอูฮุด  ในความเป็นจริงแล้วนั้นชะฮีดมันต้องขึ้นสวรรค์เลยใช่ไหม? แต่ทำไมท่านนบีถึงนมาซให้กับท่านลุงฮัมซะฮฺ ถึง 70 ครั้ง ?  นมาซแล้วนมาซอีก ซึ่งแน่นอนมันไม่ใช่นมาซญะนาซะฮฺ  เพราะมีหลักฐานเป็นเอกฉันท์ที่ทุกคนรายงานเหมือนกันหมด  นมาซแล้วนมาซอีกๆ ถึง70ครั้ง เพื่ออะไรพี่น้อง?? เพื่อจะเพิ่มพูนความดีให้กับท่านซัยยิดีนาฮัมซะฮฺ  ดังนั้นคนดีก็ต้องเพิ่มความดีให้กับเขา แล้วก็มันเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนตายกับคนเป็นนั้นมันไม่ได้ถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง โดยท่านนบี(ซล) พิสูจน์ให้เห็นในสิ่งนี้ ซึ่งแสดงว่าการนมาซของเราก็ไปถึง นี่คือรูปปแบบหนึ่งในการทำความดีให้กับผู้ตาย สมมุติถ้าเราเป็นลูก ในยามว่างๆก็นมาซสองรอกะอัต ฮาดียะฮฺให้กับบิดา และ นมาซสอง     ร่อกะอัตฮะดียะฮฺให้กับมารดา อ่านกุรอานหนึ่งจบฮะดียะฮฺให้กับบิดาและมารดา  อ่านยาซีนหนึ่งจบฮะดียะฮ์ให้กับพ่อ ไม่มีเวลาอ่านฟาติฮะฮฺหนึ่งจบ  ก็อ่าน กุลฮูวัลลอฮฺ สามครั้งฮะดียะฮ์ให้กับแม่  กล่าวคือสามารถทำความดีได้ทุกประเภทในการที่จะส่งผลบุญให้กับผู้ตาย

 

ถามว่า ทำไม ? เพราะบัญชีของอัลลอฮฺ(ซบ) นั้นยากลำบากเป็นอย่างมาก อัลลอฮฺไม่ได้คิดบัญชีแบบที่พวกเราคิด ถ้าเราดำเนินชีวิตในโลกนี้นั้นเราคิดบัญชีแบบที่ใช้กัน คิดเอง สรุปเอง ลบเองบวกเอง ลบเอง แต่อัลลอฮฺ (ซบ) ทรงคิดอีกแบบหนึ่ง  อัลลอฮฺ(ซบ) คิดบัญชีทุกอย่างตรงตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นมีบรรดาอะลิมอุลามาอฺ หรือกัลยาณชนชั้นสูงหรือแม้แต่ท่านนบีเองขอดุอาอฺว่า “ยา อัลลอฮฺ อย่าลงโทษฉันตามความยุติธรรมของพระองค์เลย” “ยา อัลลอฮฺ อย่าคิดบัญชีฉันตามความยุติธรรมของพระองค์เลย” เพราะถ้าพระองค์คิดบัญชีตามความยุติธรรมของพระองค์แล้วไซร้  แน่นอนยิ่งไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้ที่จะรอดพ้นจากการลงโทษของพระองค์”   ถ้าตามความยุติธรรมแล้ว ท่านนบี(ซล) ทรงขอว่า “จงคิดบัญชีของพวกเราจากความเมตตาของพระองค์” เพราะด้วยความเมตตาแล้วโอกาสที่จะอภัยโทษนั้นมันมีสูง

 

يَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ

 

“  ซึ่งพระองค์จะทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะลงโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ”   (ซูเราะห์  อัลมาอีดะห์ โองการที่ 18 )

 

กล่าวคือ พระองค์จะอภัยให้ใครก็ตาม ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะลงโทษใครก็ตามที่พระองค์ทรงประสงค์หมายความว่าเป็นการคิดบัญชีอย่างสมบูรณ์  อย่างละเอียด คิดอย่างละเอียด คิดอย่างสมบูรณ์ ในอัลกุรอาน กล่าวอีกว่า ในวันกิยามัต มนุษย์บางคนจะบอกว่า

 

يَا لَيْتَنِي كُنْتُ تُرَابًا (٤٠

 

ความว่า  โอ้..ถ้าฉันเป็นฝุ่นดินเสียก็จะดี  (ซูเราะห์  นะบาอฺ โองการที่  40)

 

กล่าวคือ   ช่างอนิจา!!! ข้าไม่น่าเกิดเป็นคนเลย!  น่าจะเกิดเป็นดินเสียมากกว่าตอนนี้เรามีความภาคภูมิใจที่เราเกิดมาเป็นคน แต่เมื่ออัลลอฮฺ(ซบ) ทรงคิดบัญชีกับเราแล้ว ในกุรอานบอกว่า มนุษย์กลุ่มหนึ่งบอกว่า(ยาลัยตะนา กุนตุนตู   รอบา) โอ้ไม่น่าเกิดเป็นคนเลย น่าจะเป็นดินเสียดีกว่า คือไม่น่าเป็นคนเลย เพราะเกิดเป็นคนนั้นมันลำบากเป็นอย่างมาก ลำบากตอนไหน ? ลำบากตอนที่อัลลอฮฺ (ซบ) ทรงคิดบัญชี บางคนบอกว่า

 

يَا وَيْلَتَى لَيْتَنِي لَمْ أَتَّخِذْ فُلانًا خَلِيلا (٢٨

 

“โอ้ความวิบัติแก่ฉัน ! หากฉันไม่คบคนนั้นเป็นเพื่อน”   (ซูเราะห์  อัลฟุรกอนโองการที่  28)

 

กล่าวคือ โอ้!!!ไม่น่าคบคน คนนั้นเป็นเพื่อนเลย กูเลยซวย กลายเป็นชาวนรก   สิ่งนี้มันมีจริงในอัลกุรอาน เมื่อเห็นอัลลอฮฺ (ซบ) ทรงคิดบัญชี บางครั้งมนุษย์เสียดาย โดยมีหลายรูปแบบในลักษณะเป็นการแก้ตัวหลายๆ รูปแบบ         ข้อแก้ตัวบางคำก็มีบันทึกในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน กล่าวว่า

 

قَالَ رَبِّ ارْجِعُونِ

 

“ เขาก็จะกล่าวขึ้นว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์กลับไปมีชีวิตอีกครั้งหนึ่งเถิด”

 

กล่าวคือ ยาอัลลอฮฺ(ซบ)….. ขอฉันกลับไปบนโลกดุนยาแปบเดียว  กลับไปทำไม พี่น้อง ?

 

لَعَلِّي أَعْمَلُ صَالِحًا فِيمَا تَرَكْتُ

 

 “เพื่อข้าพระองค์จะได้กระทำความดีในสิ่งที่ข้าพระองค์ปล่อยทิ้งไว้” (ซูเราะห์ อัลมุอฺมีนูน โองการที่ 100  )

 

กล่าวคือ  กลับไปเพื่อทำอามัลศอและฮฺ สักหนึ่งอย่าง   ในวันนั้นเพิ่งรู้ว่า ถ้ามีอามัลศอและฮฺอีกสักอย่างหนึ่ง สามารถหลุดจากการลงโทษอันแสนสาหัสแต่เรามองข้าม

 

(أَعْمَلُ صَالِحًا)ภาษาอาหรับแปลว่ากลับไปทำอามัลศอและฮฺอีกสักหนึ่งอย่าง แล้วขอกลับไปทำอะไร ? ไม่ใช่กลับไปทำนมาซสักร้อยปี ไม่ใช่จะกลับไปบริจาค  แต่ทว่าจะกลับไปทำอามัลศอและฮฺสักหนึ่งอย่าง บางคนบอกว่าจะกลับไปทำอันนี้  รู้ว่าโอ้!!ถ้ามีอีกหนึ่งอามัลศอและฮฺ ก็จะรอด บางคนกลับไปทำอะไร ?

 

لَنَصَّدَّقَنَّ وَلَنَكُونَنَّ مِنَ الصَّالِحِينَ

 

“พวกเราจะบริจาคทานและแน่นอนพวกเราจะได้เป็นผู้อยู่ในหมู่คนดี”    ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ โองการที่ 75

 

จะกลับไปศอดาเกาะฮฺ เพิ่งรู้ว่า ถ้ามีหนึ่งศอดาเกาะฮฺ อีกหนึ่งตัวช่วย ต้องการอีกหนึ่งศอดาเกาะฮฺเท่านั้นเองก็จะรอด แต่เพราะขาดหนึ่งศอดาเกาะฮฺจึงไม่รอด  ดังนั้นในวันนี้ ในวันที่ยังมีโอกาสจงทำ การศอดาเกาะฮฺ  จงทำการช่วยเหลือสังคม  จงรับผิดชอบโดยเฉพาะในหมู่บ้านของเรา ซึ่งในหมู่บ้านนี้มีปอเนาะ และเป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องดูแลพี่น้อง ที่จริงแล้วปอเนาะเป็นสถานศึกษาศาสนา อันเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องดูแล อันนี้แหละที่จะรักษาศาสนา ตรงนี้แหละที่จะทำให้คนในสังคมจะเป็นชาวนรกหรือชาวสวรรค์อยู่ที่ปอเนาะนี่แหละ ถ้าปอเนาะอยู่ได้ ปอเนาะสามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ บุคคลเหล่านี้แหละ ที่จะมาเป็นอิมาม จะมาเป็นคอติบ จะมาสั่งสอนพวกเรา จะมาทำให้เรารักอัลลอฮฺ(ซบ) จะมาทำให้เรารำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซบ)มากยิ่งขึ้น ดังนั้นมนุษย์อย่าได้ใช้ชีวิตอย่างเพลิดเพลินไร้สาระ  บางคนขึ้นสวรรค์ด้วยกับการช่วยเหลือ ฟะกีร มีสกีน บางคนลงนรกกับ ฟะกีร มีสกีน บางคนขึ้นสวรรค์เพราะการช่วยเหลือ บางคนลงนรกเพราะไม่ช่วยเหลือ ความวิบัติของผู้นมาซ ในกุรอานก็ได้อธิบายอย่างชัดแจ้ง

 

فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ

 

ความวิบัติจงมีแด่ผู้นมาซ

 

ทำไมคนนมาซจึงถูกสาปแช่ง ?   ดังนั้นจงอย่าภูมิใจในนมาซของเราเพียงอย่างเดียวเหมือนกับที่ข้าพเจ้าบอกในช่วงตอนต้นแล้วว่า ศาสนานี้ไม่ใช่มีแต่เรื่องนมาซเรื่องเดียว เมื่อนมาซจนเริ่มจะหลงตัวเอง อัลลอฮฺ (ซบ) ตรัสว่า

 

فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ

 

“ความวิบัติจงมีแด่ผู้นมาซ” (ซูเราะห์ อัลมาอูน โองการที่ 4)

 

ทำไม?

 

الَّذِينَ هُمْ عَنْ صَلاتِهِمْ سَاهُونَ

 

“ผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา”

 

เพราะนมาซแบบไม่รู้เรื่อง คำว่า (ซาฮูน)คือไม่รู้เรื่อง นมาซไปอย่างนั้น นมาซแบบไม่รู้

 

الَّذِينَ هُمْ يُرَاءُونَ

 

“ผู้ที่พวกเขาโอ้อวดกัน”

 

นมาซเพื่อจะอวดกับพระองค์ว่าฉันนมาซแล้ว

 

وَيَمْنَعُونَ الْمَاعُونَ

 

“และพวกเขาหวงแหนเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ”  (ซูเราะห์ อัลมาอูน โองการที่ 4-7)

 

พวกที่นมาซแล้วปฏิเสธการช่วยเหลือ  ซึ่งการช่วยเหลือตรงนี้คือทุกสิ่งทุกอย่างเพราะคำว่า (อัลมาอูน)คือ การช่วยเหลือทุกประเภท ถ้าเรามีความสามารถช่วยเหลือฟะกีร มีสกีน เราต้องช่วยเหลือเขา  ถ้าเรามีความสามารถช่วยในด้านการศึกษา ช่วยศาสนาเรา ก็ต้องช่วยศาสนา  ถ้าเรามีความสามารถจะสร้างสุเหร่าก็ต้องช่วย คือ ทุกอย่าง(อัลมาอูน)ผู้ที่นมาซแต่ปฏิเสธในการที่จะช่วยเหลือสังคมในรูปแบบต่างๆนั้น คือผู้ที่ถูกสาปแช่ง

 

(فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ) นมาซแล้วแต่ก็ลงนรก นมาซแล้วก็ลงนรกได้อีกเช่นกันพี่น้อง!!! เพราะศาสนานี้ไม่ใช่เป็นศาสนาเฉพาะเรื่องเดียว แต่เป็นศาสนาที่สอนทุกสิ่งทุกอย่าง กล่าวคือมนุษย์จะต้องมีความสมบูรณ์ก่อนที่จะกลับไปสู่พระองค์ แต่ถ้าการดำเนินชีวิตในบางสิ่งบางอย่างของเขาผิดพลาด ให้เขาแก้ไขด้วยตัวเอง เมื่ออาญัลของเขามาถึง ยังแก้ไขไม่หมดก็เป็นโอกาสของลูกหลาน ของพรรคพวก ของพี่น้อง ของเพื่อนฝูง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปลดเปลื้องภาระของผู้ตาย ถ้าไม่หนักคือถ้าผู้ตายไม่ใช่คนที่บาปหนัก  เพราะถ้าคนบาปที่หนักหน่วงทำอะไรให้ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ก็ยังต้องทำเพื่อลดโทษ ดังนั้นการทำบุญให้คนตาย การรำลึกถึงคนตายในรูปแบบต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่า การให้อาหารกับคนยากจน การช่วยทำอะไรก็ได้ที่เป็นความดีและเนียตอุทิศความดีอันนี้ให้กับผู้ตายและกับคนที่เรารัก  ซึ่งเรา มีตัวอย่างมากมายในศาสนา คือในเมื่อคนตายตัดขาดจากมนุษย์นบี (ซล)จะไม่ละหมาดถึง70ครั้งให้กับศพของ ท่านซัยยิดินา ฮัมซะฮ์ นบี(ซล) จะไม่บอกว่านี่เมื่อกี้เดินผ่านไปกำลังถูกลงโทษ ตอนนี้หยุดลงโทษเพราะลูกของเขากำลังเรียนอัลกุรอาน อัลลอฮฺ (ซบ) บอกแล้วว่าความดีของลูกในโลกนี้ก็ช่วยหยุดการลงโทษของพ่อที่กำลังถูกลงโทษอยู่ในอลัมบัรซัค  ดัง นั้นการทำบุญ การอุทิศส่วนกุศลหรือที่เราเรียกว่าการฮาดียะฮฺให้กับผู้ตายนั้นเป็นอีก “บาบุร เราะมะฮฺ” เป็นประตูแห่งความเมตตาอันหนึ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ) เปิดให้กับมนุษย์ ทุกคนเว้นแต่ว่าคนนั้นจะโชคร้ายกล่าวคือการดำเนินชีวิตของเขาในโลกนี้ เขาไม่ได้สร้างอะไรไว้เลยเพื่อสิ่งนี้ คือเขาไม่ได้สร้างลูกที่ว่าถ้าเราตายไปแล้วลูกคนนี้จะอ่านอัลกุรอานให้กับเรา เพราะเราไม่ได้ส่งลูกไปเรียนอัลกุรอาน สมมุติ   เขาไม่ได้สร้างเอาไว้เลยว่า ถ้าเราเกิดตายไปแล้วลูกคนนี้จะทำบุญให้กับเรา เพราะเขาไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้เอาไว้เลย นี่คือความโชคร้ายของผู้ตายอันนี้ค่อยว่ากันในวันกียามัต ในวันแห่งการตัดสิน และวันแห่งการตอบแทน

 

اللهم صل على محمد وآل محمد  وعجل فرجهم

 

ที่มา - www.syedsulaiman.com

 

แสดงความเห็น