ซะกาต (ทานภาคบังคับ)

   “และจงดำรงไว้ซึ้งการนมาซและจงบริจาคซะกาต และจงให้พระผู้เป็นเจ้ายืมอย่างดีเยี่ยมเถิดและความดีอันใดที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เพื่อตัวของพวกเจ้าเองพวกเจ้าก็จะพบมัน ณ ที่พระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นความดีและผลตอบแทนก็ยิ่งใหญ่กว่า” (ซูเราะห์ อัลมุซัมมิล โองการที่ 20)

 

ซะกาต (ทานภาคบังคับ)             

   “และจงดำรงไว้ซึ้งการนมาซและจงบริจาคซะกาต และจงให้พระผู้เป็นเจ้ายืมอย่างดีเยี่ยมเถิดและความดีอันใดที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เพื่อตัวของพวกเจ้าเองพวกเจ้าก็จะพบมัน ณ ที่พระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นความดีและผลตอบแทนก็ยิ่งใหญ่กว่า”

(ซูเราะห์ อัลมุซัมมิล โองการที่ 20)

                การจ่ายซะกาตเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของบรรดามุสลิมในการรับผิดชอบสังคมเศรษฐกิจอิสลาม  การจ่ายซะกาตนั้น อัลกุรอานได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการทดสอบศรัทธาของมนุษย์ ซึ่งเราจะเห็นได้ในการทดสอบศรัทธาของมนุษย์ ซึ่งเราจะเห็นได้ในอัลกุรอานว่าคำสั่งให้จ่ายซะกาตนั้นจะมาคู่กับคำสั่งให้นมาซอยู่เสมอ

                คำรายงานจำนวนมาก จากบรรดาอิมาม(ผู้นำหลังจากศาสดา)ที่ปราศจากมลทิน(อ)ที่กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่เขาหลีกเลี่ยงการจ่ายซะกาตเท่ากับเขาได้ออกนอกศาสนา”

                ซะกาตมีหลายประเภท เช่น ซะกาตร่างกายหรือชีวิตคือบุคคลที่มีชีวิตถึงวันอีดุลฟิฏร์  เขาต้องจ่ายซะกาต เรียกว่า ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในบทการถือศีลอด ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ ซะกาตทรัพย์สินซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ

ประเภทของซะกาตทรัพย์สิน  

1.ซะกาตผลผลิตทางเกษตรกรรม จากพืชผล

2.ซะกาตผลผลิตทางเกษตรกรรม จากปศุสัตว์

3.ซะกาตเหรียญเงิน และเหรียญทอง

นิศอบ(ขั้นกำหนด)ของซะกาต

                ซะกาตของสิ่งเหล่านี้วาญิบ(จำเป็น)จะต้องจ่ายเมื่อครบตามศาสนากำหนด ซึ่งเรียกว่านิศอบ และถ้าหากว่ามีไม่ครบตามนิศอบที่กำหนดก็ไม่วาญิบ(ไม่จำเป็น)ที่จะต้องจ่ายซะกาต

นิศอบของซะกาตพืชผล

                พืชผลที่จะต้องจ่ายซะกาตมีอยู่ 4 ชนิดเท่านั้น คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์  อินทผาลัม  องุ่นแห้ง  ส่วนพืชผลอื่นๆไม่มีซะกาตแต่ต้องจ่ายคุมซ์(ภาษีทางศาสนา)เมื่อตรงเงื่อนไขของคุมซ์ และนิศอบของพืชผลทั้ง 4 ชนิดคือ 850 กิโลกรัม ถ้ามีไม่ถึงนิศอบก็ไม่ต้องจ่ายซะกาต

 

จำนวนซะกาตของพืชผล

                เมื่อได้พืชผลครบจำนวนนิศอบ วาญิบ(จำเป็น)จะต้องจ่ายซะกาต  ซึ่งจำนวนของซะกาตพืชผลนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการให้น้ำในการเพาะปลูกซึ่งมีอยู่  3  วิธีด้วยกัน

                1.ถ้าใช้น้ำฝนหรือน้ำคลองในการเพาะปลูกจำนวนซะกาตคือ  1 / 10

                2.ถ้าจะต้องใช้ถังตักน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำในการเพาะปลูกจำนวนของซะกาตคือ  1 / 20

                3.ถ้าใช้ทั้งสองวิธี คือ ทั้งน้ำฝน น้ำคลอง และเครื่องสูบน้ำจำนวนของซะกาต จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งจะต้องจ่าย 1 / 10 และอีกครึ่งต้องจ่าย 1 / 20

นิศอบของซะกาตปศุสัตว์

                ปศุสัตว์ที่จะต้องจ่ายซะกาต คือ อูฐ  วัว และแพะหรือแกะ

จำนวนของซะกาตและนิศอบ

              นิศอบของแพะแกะคือ ครบ 40 ตัว จะต้องจ่ายซะกาต 1 ตัว  นิศอบของวัว คือ ครบ 30 ตัวจะต้องจ่ายซะกาตลูกวัวที่มีอายุครบหนึ่งปีและย่างเข้าปีที่สอง 1 ตัว

                นิศอบของอูฐ นิศอบแรกของอูฐ คือ เมื่อครบ 5 ตัว จะต้องจ่ายซะกาตเป็นแพะหรือแกะ 1 ตัว และเมื่ออูฐครบ 26 ตัว ซะกาตของมันคือ อูฐ 1  ตัว

นิศอบของเหรียญเงินหรือเหรียญทอง

        นิศอบของเหรียญทองคือ ๑๕ มิสกอล (น้ำหนักการชั่งของชาวอาหรับ)  และนิศอบเงินคือ ๑๐๕ มิสกอล และจำนวนซะกาตทั้งสองประเภทคือ ๑/๔๐

 

ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต

ผู้ที่มีสิทธ์รับซะกาตมีอยู่ ๘ จำพวก ซึ่งเราสามารถจ่ายให้พวกเขาดังนี้ คือ

- ฟากีร คือ ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย

- มิสกีน คือ ผุ้ที่ม่มีรายได้และขัดสน (คนอนสถา)

- วากีล คือ ตัวแทนของอิมามมะซูม(อ.)หรือตัวแทนของมัรญิอฺ ที่ด้รับหน้าที่ในการเก็บซะกาต และ แจกจ่ายออกไป

- มุอัลลัฟ คือ บุคคลที่ไม่ช่มุสลิมแต่ช่วยเหลือมุสลิมในสงคราม หรือช่วยดูแลชายแดนอิสลาม หรือ บุคคลที่ถ้าให้ซะกาตกับพวกเขา จะทำให้พวกเขาสนใจในศาสนาอิสลาม

- เพื่อปล่อยทาส

- บุคคลที่มีหนี้สินที่ไม่สามารถจะจ่ายได้

- ใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ ที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม และพระผู้เป็นเจจ้าพึงพอพระทัย เช่น สร้างมัสยิต โรงเรียน สะพาน หรือ ถนน

- ผู้เดินทางที่พลัดถิ่นและไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ตัวอย่างขั้นกำหนดและประมาณของที่ต้องจ่ายซะกาต

ลำดับที่

ประเภท

ขั้นกำหนด

ปริมาณซะกาต

ข้าวสาลี

ข้าวบาร์เลย์

อินทผลัม

องุ่นแห้ง

๘๔๗/๒๐๗ กิโลกรัม

/๑/๐ ถ้าใช้น้ำจากธรรมชาติ น้ำฝน น้ำคลอง ใต้องลงทุน

๒/๒๐ ถ้าใช้เครื่องสูบน้ำ แบบไม่ธรรมชาติ มีการลงทุน

ภ/๔๐ ถาใช้สองกรณี แบบธรรมชาติ บวก แบบลงทุน

อูฐ

- ถ้าอูฐ ๕ ตัว

- ถ้าอูฐ ๒๕ ตัว

- ถ้าอูฐ ๒๖ ตัว

- ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

- ทุกๆ ๕ ตัว ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

- ต้องจ่ายซะกาตเป็นอูฐ ๑ ตัว

วัว

ถ้ามีวัว ๓๐ ตัว

ต้องจ่ายซะกาตเป็นลูกวัวอายุ ๑ ขวบ ๑ ตัว

แกะ

ถ้ามีแกะ ๔๐ ตัว

ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

ทองคำ

ถ้ามีทองคำ ๑๕ มิสกอล

ต้องจ่ายซะกาต ๑/๔๐

เงิน

ถ้ามีเงิน ๑๐๕ มิสกอล

ต้องจ่ายซะกาตเป็น๑/๔๐

ซะกาตฟิตเราะฮ์

ความหมาย

ซะกาตฟิตเราะฮ์ คือ ซะกาตที่มุสลิมทุกคน(อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้)จะต้องจ่าย หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน

ชนิดและปริมาณของซะกาตฟิตเราะฮ์

ข้าวสาร หรือ อาหารประจำท้องถิ่นนั้นประมาณ ๓ กิโลกรัม ต่อ ๑ คน

เวลาจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์

เวลาที่เป็นวาญิบของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ คือ หลังจากพระอาทิตยืตกดินของคืนวันอีดฟิตรฺ จนกระทั่งเวลาดุฮฺริของวันอีดฟิตรฺ

ผู้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์

ซะกาตฟิตเราะฮ์เป็นวาญิบสำหรับบุคคลที่มีคุณลักษณะดั่งต่อไปนี้

๑)     อัล-บลูฆ (บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)

๒)    อัล-อักลุ (มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์)

๓)    อัล-กอนี (มีฐานะความเป็นอยู่ไม่ขัดสน)

 

ผู้รับซะกาตฟิตเราะฮ์

คือบุคคล ๘ จำพวกที่สามรถรับซะกาตทั่วไปได้

-          ต้องเป็นคนยากจน ขัดสนที่เป็นมุอ์มินเท่านั้น และอยู่ในเมืองเดียวกับผู้จ่ายรซะกาตฟิตเราะฮ์ รายละเอียดเรื่องซะกาตฟิตเราะฮ์

๑)     ผู้มีคุณสมบัติทั้งสี่ประการข้างต้น เป็นวาญิบที่เขาต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับตัวเขาเอง และผู้ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเขา (เช่น ลูกหลาน คนรับใช้ เป็นต้น)

๒)    สำหรับเด็กทารก คนวิกลจริต คนที่เป็นทาส คนยากจน ขัดสน ที่ไม่มีรายได้เพียงพอในการใช้จ่ายตลอดปี ไม่เป็นวาญิบต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์

๓)    เป็นวาญิบสำหรับเจ้าของบ้านต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับ(จ่ายแทน)แขกผู้มาผู้มาเยือน(แม้ว่าจะเป็นกาฟิรก็ตาม) ซึ่งเขาได้มาเยือนก่อนเวลามัหริบของค่ำวันอีด แต่ทว่าก็ยังถือว่าเป็นวาญิบต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ สำหรับ (จ่ายแทน) แขกผู้มาเยือนเวลาใกล้มัฆริบ หรือ หลังมัฆริบด้วย เหมือนกับตราบเท่าที่เวลาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ยังคงเหลืออยู่

๔)    เด็กทารกที่คลอดออกมาใกล้เวลามัฆริบ หรื ก่อนเวลามัฆริบเพียงครู่เดียว ก็อยู่ในฐานะที่ผู้ปกครอง(พ่อหรือแม่)ต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับ(จ่ายแทน)ทารกนั้นด้วย

 

แสดงความเห็น